วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน
พันธุ์และการขยายพันธุ์
ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู์ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง า แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ
โรงเรือนเลี้ยงไก่
เรือนโรงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร
การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ
1. ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่
2. ให้ใก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน
3. เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปราน เช่น ฝนตกหนัก
4. ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน
5. ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฎิชีวนะป้องกันรักษาโรค
การสร้างเรือนโรงไก่ควรคำนึงถึงความโปร่งและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มืดทึบและมีความสูงพื่อที่จะให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวกพอควร
บริเวณตัวเรือนโรงจะใช้ลวดตาข่าย แห อวนเก่า ๆ หรือไม้รวกผ่าชีกก็ ได้ นำมาปูรอบเรือนโรง นอกจากนั้นควรมีถุงปุ๋ยหรือกระสอบเก่า ๆ แต่ล้างให้ สะอาดแล้ว ส่าหรับทำเป็นม่านป้องกันลมและฝน โดยเฉพาะในระยะการกกลูกไก่ เรือนโรงที่สร้างอยู่ใต้ถุนบ้านไม่มีความจำเป็นต้องสร้างหลังคา แต่ถ้าสร้างอยู่บนลาน บ้านอาจใช้แผงจากมุงเป็นหลังคาได้
อาหารและการให้อาหาร
ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ
ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย
หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
3. ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย

ขนาดของเรือนโรงขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ ขนาดอายุของไก่ที่จะเลี้ยง เช่น ถ้าต้องการเลี้ยงเฉพาะระยะลูกไก่จนถึงระยะไก่รุ่นที่ได้น้ำหนักระหว่าง 1.5 - 2.0 กิโลกรัม จำนวนที่จะเลี้ยงได้นั้น จะใช้สัดส่วนประมาณ 8 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตาราง เมตร ดังนั้นถ้าเรือนโรงมีขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ 3 X 5 เมตร จะสามารถเลี้ยง ไก่ได้ประมาณ 120 ตัว แต่ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นพ่อและแม่พันธุ์ ควรใช้ส่ดส่วน ประมาณ 4 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร ดังนั้นในเรือนโรงดังกล่าวจะสามารถเลี้ยงได้ ประมาณ 60 ตัว
6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด
สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง 7. สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
8. ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ
9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วในช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
10. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
11. นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ
การป้องกันโรค
โดยทั่วไป การเลี้ยงไก่แบบชาวบ้านแต่ละปีจะเกิดโรคระบาดเป็นสาเหตุทำให้ไก่ตายปีละมาก ๆ บางครั้งอาจตายเกือบทั้งหมู่บ้านทั้ง ๆ ที่ไก่บ้านเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างจะทนทานต่อโรคเมื่อเทียบกับพันธืแท้อื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้นถ้าหากสามารถลดอัตราการตายได้จะยังผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนไก่ลูกผสมพันธุ์โรคกับไก่พื้นบ้านเมื่อจะนำไปเลี้ยงแบบชาวบ้านก็จำเป็นหาทางป้องกันโรคไว้ก่อนเสมอ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ๆ

1. การทำวัคซีน
การทำวัคซีนจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่มีชีวิต ที่บุกรุกเข้าไป ดังนั้นวัคซีนก็คือสิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือถูกทำให้ตายแวก็ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ก็จะเริ่มสร้างภูมิต้านทานขึ้นต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมชนิดนั้น ๆ ที่เจาะจง ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนหลายชนิดด้วยกันที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับป้องกันโรคไก่ แต่ก็มีโรคไก่อีกหลายโรคที่ยังไม่สามารถจะผลิตเป็นวัคซีนออกมาใช้ได้
ข้อควรปฏิบัติหรือข้อควรจำในขณะที่ให้วัคซีนไก่คือ
1. ต้องทำวัคซีนในขณะที่ไก่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงเท่านั้น
2. ควรทำวัคซีนในขณะที่อากาศเย็นสบาย คือ ช่วงเช้า หรือเย็น การทำวัคซีนในขระที่อากาศร้อน จะสร้างภาวะเครียดให้กับไก่เพิ่มขึ้นและอาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้มาก
3. การให้วัคซีนควรปฏิบัติตามคำแนะนำของชนิดวัคซีนนั้น ๆ ว่าจะให้ได้ในทางใดบ้าง เช่น ให้โดยวิธีการแทงปีก หรือวิธีการหยอดจมูก
4. ก่อนและหลังการทำวัคซีน 1 วัน ควรละลายยาป้องกันความเครียดให้ไก่กิน
5. วัคซีนควรเก็บไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตามชนิดของวัคซีนนั้น ๆ
6. วัคซีนที่ผสมเสร็จแล้วควรรีบนำไปให้ไก่ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะวัคซีนจะเสื่อม และไม่ควรให้แสดงแดด
ควรจำไว้ว่าการทำวัคซีนนั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะให้ผลป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะผลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก
วัคซีนไก่ชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ และเกษตรกรควรทราบมีดังนี้
1 วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า โรคกะลี้หรือโรคห่า ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ถ้าเกิดโรคระบาดขึ้นอัตราการตายจะสูงมาก บางครั้งอาจตายหมด วัคซีนชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 สเตรน เอฟ (F)เป็นชนิดที่ใช้ทำในระยะลูกไก่ อายุลูกไก่ที่เหมาะสำหรับการทำวัคซีนชนิดนี้คือ อยู่ระหว่าง 1-3 สัปดาห์ วิธีการให้จะทำโดยการหยอดตาหรือหยอดจมูก
1.2 สเตรน เอ็ม พี (MP) เป็นชนิดที่ใช้สำหรับไก่ที่เคยผ่านการทำวัคซีนนิวคลาสเซิล เสตรน เอฟมาก่อน วิธีการให้โดยใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือแทงปีก
2 วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น กัน อายุไก่ที่เหมาะสำหรับการทำวัคซีนชนิดนี้คือ 1-3 สัปดาห์ อาการที่พบคือลูกไก่มักจะยืนอ้าปากหายใจ ถ้าเปิดซากพิสูจน์ จะพบว่า บริเวณหลอดลมที่ส่วนคอจะมีรอยเลือดสีแดงเข้มการให้วัคซีนชนิดนี้ทำโดยวิธีหยอดจมูก หรือหยอดตา
3 วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส มักพบแพร่ระบาดอยู่ทั่วไป เพราะยุงจะเป็นพาหะของโรค อัตราการตายอันเนื่องจากโรคนี้ไม่สูงมากนักแต่ความแข็งแรงของไก่จะลดง ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไก่ที่เกิดโรคนี้ไม่สามารถที่จะจำหน่ายได้ เพราะตามบริเวณหน้าและแข้งขาจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ กระจายไปทั่วตัวทำให้ดูน่าเกลียด การทำวัคซีนชนิดนี้สามารถทำควบคู่พร้อมกับวัคซีนนิวคลาสเซิล หรือหลอดลมอักเสบอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การใช้วัคซีนชนิดนี้จะใช้วิธีการแทงปีก และให้เพียงครั้งเดียวไก่ก็สามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้ตลอดชีพ ซึ่งต่างจากวัคซีนนิวคลาสเซิลและหลอดลมอักเสบ ที่จำเป็นต้องทำเป็นระยะ ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น